หนังสือเล่มนี้มีชื่อเรียก ๓ ชื่อต่างกันคือ
๑.นางนพมาศ(เพราะมารดานางนพมาส ชื่อเรวดี รัชกาลที่ ๖ ว่าหมายถึงเก้าเดือน
เว้นพรรษา ๓ เดือนตลอดทั้ง ๙ เดือนนี้มีพิธีพราหมณ์ทำตามตำราทุกเดือน
๒.เรวดีนพมาศ
๓.ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (เพราะตำแหน่งนางนพมาศ เพราะนางนพมาศ
เป็นสนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย)
เนื้อหาตอนต้นว่าด้วย มนุษย์ชาติและต่อมากล่าวแสดงเหตุที่บิดามารดานำเข้าไปถวายตัวเป็นพระสนม แล้วพรรณาถึงหน้าที่ราชการฝ่ายในตลอดไปจนแบบวิธี 12 เดือน ซึ่งเป็นราชประเพณีในครั้งกรุงสุโขทัยเป็นที่สุด
หนังสือนี้แต่งขึ้นในช่วงรัชกาลที่ ๒-๓ ของกรุงรัตนโกสินทร์แต่พระจอมเกล้า(ร.๔)
และกรมหลวงศาธิราชสนิททรงนับถือหนังสือเรื่องนี้อยู่ อาจเป็นไปได้ว่าจะมีเค้าเรื่องเดิมอยู่
อย่างไรก็ดีหนังสือนี้ก็นับเป็นหนังสือสำคัญในภาษาไทยเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องที่พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) ทรงนิยมและพระจุลจอมเกล้า(ร.๕) ทรงอ้างถึงหนังสือนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องพระราชพิธี ๑๒ เดือนหลายแห่งอีกด้วย (สังเขปความจากบทนำของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
ข้อมูลทางบรรณานุกรม
สุรสีห์วิสิษฐศักดิ, ท่านผู้หญิง. (2472). เรื่องนางนพมาศหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, มีภาพประกอบ, 97 หน้า, ขนาด 128 x 161 ม.ม.